lessons from 311

MEDIA

สื่อมวลชนนับเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ

ทั้งในเรื่องของการอพยพและเตรียมตัวก่อนเกิดภัย การรายงานสถานการณ์และข้อมูลขณะเกิดภัย การฟื้นฟูและเยียวยาหลังเกิดภัย รวมไปถึงในภาวะปกติที่ต้องคอยสร้างการตระหนักรู้และความพร้อมให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ

แม้เหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นในปี 2011 จะมาผ่านแล้วกว่า 12 ปี แต่สื่อมวลชนในญี่ปุ่นยังคงมีการรำลึกและถอดบทเรียนจากภัยพิบัติในครั้งนั้นอยู่สม่ำเสมอ

ข้อมูลจาก NHK Broadcasting Culture Research Institute แสดงให้เห็นว่าสื่อญี่ปุ่นมีการรายงานเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคตะวันออกผ่านทางโทรทัศน์เฉลี่ย 765 ชั่วโมง/ปี

โดยรูปแบบเนื้อหาที่ถูกนำเสนอมากที่สุดสามอันดับแรกในปี 2014-2020 คือ ข่าว รายการโทรทัศน์ และสารคดี

หมายเหตุ เป็นการรวมเวลาออกอากาศจาก 6 สถานีโทรทัศน์ได้แก่ NHK, NIPPON TV, TV ASAHI, TBS, TV TOKYO และ FUJI TV

การรายงานเนื้อหาเกี่ยวกับ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคตะวันออกผ่านทางโทรทัศน์

"สื่อญี่ปุ่นมีการพูดถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวซ้ำบ่อย โดยเฉพาะช่วงก่อนวันที่ 1 กันยายน ซึ่งเป็นวันป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ กับช่วงมีนาคมที่เป็นวันครบรอบแผ่นดินไหวปี 2011 พอประเทศอื่นมีแผ่นดินไหวก็เอามาเทียบ อย่างล่าสุดที่ตุรกีเกิดแผ่นดินไหว สื่อก็จะเล่าว่าถ้าเกิดที่ญี่ปุ่นเราจะต้องทำอย่างไร ด้วยความที่ทำซ้ำบ่อยมาก เราก็จะซึมซับเข้าไปโดนไม่รู้ตัว แล้วทุกครั้งที่มีแผ่นดินไหวข้อมูลพวกนี้ก็จะไหลออกมา เราจะรู้ว่าต้องรับมืออย่างไร"
อาจารย์ รุจิรัตน์ อิชิกาว่า
School of Cultural and Creative Studies, Aoyama Gakuin University
The Matter

จดจำและเรียนรู้: 12 ปี ‘แผ่นดินไหวใหญ่-สึนามิ’ ที่โทโฮคุของญี่ปุ่น

สิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ในวันนี้จึงเป็นการนำอดีตมาเป็นบทเรียน เพื่อเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ

Read More

นอกจากการรายงานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความตระหนักและการเรียนรู้ให้กับประชาชนแล้ว การนำเสนอภาพความหวังก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของสื่อมวลชน ที่จะช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนในการก้าวข้ามความสูญเสียและพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต

ไม่เพียงแต่สื่อมวลชน แต่สื่อบันเทิงของญี่ปุ่นนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติในสังคม ยกตัวอย่างภาพยนตร์อนิเมชั่นชื่อดัง Suzume (การผนึกประตูของซุซุเมะ) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจแผ่นดินไหวเมื่อปี 2011 ที่ไม่เพียงทำให้คนญี่ปุ่นหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้นหลังผ่านมา 11 ปีแล้ว แต่ยังทำให้คนต่างชาติได้รู้จักกับแผ่นดินไหวผ่านความบันเทิง

“ผมกำลังทำหนังที่มีแผ่นดินไหวเป็นแกนหลักของเรื่อง ผมคิดว่าคงไม่มีคนมาดู เพราะพวกเขาอาจคิดว่ามันคงเต็มไปด้วยการวิพากษณ์วิจารณ์สังคมและพูดถึงแผ่นดินไหวที่มีผลต่อสังคม ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ผมจำเป็นต้องทำให้มันบันเทิง”

ー มาโกโตะ ชินไค ผู้กำกับ Suzume