lessons from 311

BOUSAI

โบไซ (防災) คือการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ 

เพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาและป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ การปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติและมีความพร้อมในการรับมืออยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

ทำให้การสนับสนุน ‘โบไซเคียวอิคุ’ หรือการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติในสังคม เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีการรับมือภัยพิบัติได้อย่างดีเยี่ยม

เป้าหมายสูงสุดของโบไซเคียวอิคุ คือการที่ประชาชนสามารถปกป้องชีวิตของตนได้ในยามที่เกิดภัยพิบัติร้ายแรงทางธรรมชาติ

เนื่องจากสถิติในปี 1995 เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวอฮันชินอาวาจิ (แผ่นดินไหวโกเบ) พบว่า

ประชาชนซึ่งติดอยู่ในสิ่งก่อสร้างกว่า 97.5% รอดมาได้จากการช่วยเหลือตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของภาคประชาชน จึงเป็นบทเรียนสำคัญให้กับรัฐบาลในการส่งเสริมโบไซในภาคประชน

นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในสาเหตุและกระบวนการของการเกิดภัยพิบัติ อันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สถิติการช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในอาคาร แผ่นดินไหวโกเบ (1995)

ออกด้วยตัวเอง
34.9%
ครอบครัวช่วยพาออก
31.9%
เพื่อน/เพื่อนบ้านช่วยพาออก
28.1%
ผู้ผ่านมาช่วยพาออก
2.6%
หน่วยกู้ภัยช่วยพาออก
1.7%
อื่นๆ
0.9%

เพื่อให้โบไซเคียวอิคุเกิดขึ้นในสังคม จะต้องอาศัยการรวมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถพบได้ทั้ง ในระบบการศึกษา และ นอกระบบการศึกษา

ในระบบการศึกษา

การศึกษาเกี่ยวกับภัยพิบัติในโรงเรียนของญี่ปุ่นสมัยใหม่มีมาตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของแต่ละยุคสมัย โดยปัจจุบันการเรียนการสอนเกี่ยวกับภัยพิบัติจะถูกสอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ

นอกระบบการศึกษา

ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่างร่วมมือกันพัฒนาสื่อที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย เพื่อให้ประชาชนหันมาตระหนักถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมไปถึงพัฒนาการฝึกซ้อมแผนการรับมือให้น่าติดตามและสมจริงมากยิ่งขึ้น